ก๊อก ก๊อก ก๊อก… เดินทางกันมาถึงตอนสุดท้ายแล้ว แต่วันนี้บุษบาต้องตื่นตั้งแต่เช้ามืด… มืดขนาดไหนกันละเนี่ย ตี3 ยังมืดพอมั๊ย!!!! อ๊าว แล้วทำไมต้องตื่นเช้าขนาดนั้นนนนน… เพราะที่ที่บุษบาจะพาไปนั้นต้องขอบอกว่าเมื่อมามัณฑะเลย์แล้ว ต้องไม่พลาดกับพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่คนที่นี่เองศรัทธาเป็นอย่างมากนั่นก็คือ พิธีล้างหน้าพระพักตร์มหามัยมุนีตอนเวลา ตี4 ของทุกวัน ณ Mahamuni Buddha Temple 1 ใน 5 มหาสถานบูชาสถานสูงสุดของเมียนมาร์ หลังจากที่ได้ไปสักการะ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวซิกอง ที่เมืองพุกามมาแล้ว…

เมื่อมาถึงแล้วก็เข้าไปภายในวัดเลยค๊า แน่นอนว่าบุษบาจับจองพื้นที่ด้านหน้า เพื่อจะได้เห็นทุกขั้นตอนในพิธีแบบใกล้ที่สุด (ผู้หญิงอยู่ชมด้านนอกเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปร่วมพิธีได้) บุษบาอยู่ร่วมพิธีจนจบในเวลา 6 โมงเช้า และไม่รอช้าที่จะมาต่อแถวเพื่อรับน้ำอบน้ำทานาคาที่ใช้ในการล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี คล้ายๆกับการรับน้ำมนต์กลับบ้าน ไปเพื่อเป็นสิริมงคลนั่นเอง

Tips : ขอแนะนำเลยว่าไม่ควรพลาดสักครั้งในชีวิต อยากให้มาร่วมพิธี…รับรองว่าคุ้มค่าที่ตื่นแต่เช้าอย่างแน่นอน

หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาโรงแรมกันก่อนเพื่อรับประทานอาหารเช้า และอาบน้ำแต่งตัวเตรียมไปนั่งรถม้าชมเมืองอังวะตาม รอยโยเดียกันเลยค๊า รถบัสมาส่งที่ท่าเรือแล้ว ทุกคนก็พร้อมขึ้นเรือข้ามแม่น้ำอิรวดีเพื่อไปอีกฝั่งนึงที่เป็นเมืองอังวะนั่นเอง เมื่อข้ามฝั่งมาเรียบร้อยก็เลือกนั่งรถม้าได้ตามชอบเลยค๊า พร้อมแล้วก็ลุยยยยยยยย ระหว่างการเดินทาง2ฝั่งทางนั้นก็เป็นชุมชนที่มีชาวเมียนมาร์อาศัยอยู่ ชุมชนคล้ายๆกับชนบทต่างจังหวัดของประเทศไทยเราเลยค่ะ คุณลุงคนขับรถม้าก็ชวนคุยถึงแม้จะพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง แต่ว่าภาษากายของคุณลุงที่พยายามสื่อความหมายนั้นเป็นเลิศไปเลย แนะน้ำบุษบาสารพัด จนตื่นเต้นกับการสื่อสารของคุณลุงมากกกกกก บุษบาก็ต้องขอบอกว่าเดาเอาล้วนๆเลย ฮ่า ฮ่า มาแล้วก็ขอเล่าเรื่องเมืองอังวะให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกันสักหน่อยนะคะ. . .

เมืองอังวะ หรือชาวเมียนมาร์เรียกว่า อีนวะ (Innwa, Ava) เป็นเมืองเกาะกลางน้ำที่เกิดจากการขุดคลองรอบเมือง เป็นจุดตัดกันของแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำมยิแง ในอดีตเป็นราชธานีอันยาวนานและมีความเชื่อมต่อกับประวัติศาสตร์ไทย เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อราวๆ 250 ปีมาแล้ว เชลยชาวไทยถูกกวาดต้อนเดินทางด้วยเท้ามาที่นี่ โดยใช้เวลาในการเดินทางนานถึงหนึ่งปี เนื่องจากคนไทยนั้นได้ชื่อใน เรื่องช่างฝีมือ จึงอยากได้ฝีมือของช่างไทยมาสร้างบ้านสร้างเมือง เชลยไทยที่ที่ถูกกวาดต้อนมาในครั้งนั้นถูกจัดให้พักอยู่รอบนอก ของมัณฑะเลย์ ซึ่งก็คืออยู่เมืองอมรปุระนั่นเอง คนพม่าเรียกคนไทยว่า “โยเดีย” มาจากค าว่า “โย-เธีย-ยะ” หรือ อโยธยา

โดยมีการตัด “อ” ทิ้งไป เพราะอโยธยานั้นหมายถึงเมืองผู้ไม่แพ้ ชาวอังวะเชื่อว่าต้นตระกูลของพวกเขาเป็นชาวสยาม นั่นเอง เอาละคะ!!!!! มาถึง สถานที่แรกกันแล้ว วัดไม้สักบากะยา (Bakaya Monastery) วัดไม้สีดาที่สวยและโดดเด่นมาก สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าพะคยีดอว์ คนไทยเราเรียกว่าพระเจ้าจักกายแมง เป็นวัดไม้สักเก่าแก่ ทั้งตัวอาคารแกะสลักด้วยไม้สักทั้งหลัง เป็นศิลปะสมัยต้นๆของเมืองอังวะ มีงานไม้จำหลัก ลวดลายละเอียดปราณีต ฝีมืองดงามมาก ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นลวดลายต่างๆเป็นศิลปะแบบอโยธยาที่คนไทยคุ้นตา มี
“ครุฑยุดนาค”

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์พญาครุฑของอโยธยาด้วย เนื่องจากช่างชาวสยามเป็นผู้สร้างอาคารแห่งนี้นั่นเอง. . . เรียบร้อยแล้วก็นั่งรถม้าไปยังที่ต่อไปกันเลยค๊า เชื่อว่าทุกท่านรู้จักหอเอนปิซ่า ที่ประเทศอิตาลี กันอยู่แล้ว แน่นอนว่าบุษบาจะพามาชมหอเอนของประเทศเมียนมาร์กันบ้าง ที่นี่ก็คือ หอคอยนานมะยิน (Nan Myint วัดไม้สักบากะยา (Bakaya Monastery)) หรือหอเอนอังวะ มีความสูงเกือบ 30 เมตร เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวัง (คล้ายกับที่มัณฑะเลย์) แม้ว่าจะไม่หลงเหลือราชวังแล้ว แต่หอคอยนี้ยังคงหลงเหลืออยู่ในสภาพที่สุดโทรมและเอนเอียงจากแผ่นดินไหว ตอนที่บุษบาไปไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมข้างบนแล้วนะคะ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นอันตราย…

อะนั่งรถม้าต่อไปอีกระยะหนึ่งก็มาพบกับ วัดเมห์นู อ๊อกคยัง (Mae Nu Oak Kaung Temple) หรือ วัดมหาอ่องมเหย่ป่งสั่น (Maha Aung Mye Bon Zan Monastery) วัดแห่งนี้จะมีความแตกต่างจากวัดอื่นๆซึ่งสร้างด้วยไม้ แต่ว่าวัดแห่งนี้สร้างจากอิฐและปูน จากคำบอกเล่าของไกด์พม่าเล่าว่าผู้ที่สร้างวัดนี้ก็คือพระนางเมห์นู มเหสีของพระเจ้าบาจีดอว์ (พระเจ้าจักกายแมงคนที่สร้างวัดสีขาวๆที่มิงกุน) คำว่า “เมห์นู” จึงมาจากชื่อของพระนาง ส่วนคำว่า อ๊อกคยัง หมายถึงวัดที่สร้างขึ้นมาจากปูน คนสมัยนั้นไม่ค่อยมีใครชอบนางนัก เพราะว่านางมีชาติกำเนิดเป็นสามัญชนเป็นเพียงแม่ค้าในตลาด พระเจ้าจักกายแมงเสด็จไปเจอแล้วตกหลุมรัก และทรงแต่งตั้งให้เป็นมเหสี แล้วนางก็มาแรงจนเขี่ยอัครมเหสีไปได้ พระนางเมห์นูเป็นคนที่มีบทบาททางการเมืองอย่างมากในสมัยนั้น เป็นคนที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกษัตริย์ จนเป็นต้นเหตุให้พม่าเสียเมืองหลายเมืองให้กับอังกฤษ

ตอนปลายรัชกาลเพราะพระเจ้า จักกายแมงเกิดสติวิปลาศ พระนางก็รวบอำนาจไว้เสร็จสรรพ ท้ายที่สุดพระนางก็ถูกประหารชีวิต มีเรื่องเมาท์กันว่าพระนางสร้างวัดนี้ ให้กับเจ้าอาวาสที่เคยเป็นคนรักเก่าของพระนาง (พระนางเมห์นูเป็นเป็นยายของพระนางศุภยลัต ถ้าเทียบกับตัวละครในเพลิงพระนาง คือเป็นแม่ของอั้มนั่นเอง)

โหววววว!!!! บอกแล้วว่ามาเที่ยวกับทราเวิล วันเดอส์นอกจากจะได้รับการบริการดีดี ถ่ายรูปสวยๆให้แล้ว ความรู้ที่ได้รับก็แน่นไม่แพ้หนังสือประวัติศาสตร์เลยนะคะ อิ อิ เมื่อนั่งรถม้าชมเมืองอังวะเสร็จแล้วก็กลับมาขึ้นเรือข้ามฝั่งมาเมือง มัณฑะเลย์เหมือนเดิม พร้อมแล้วก็ขึ้นรถไปเข้าวังกันเถอะเจ้าค่ะ หืมมมม บุษบาจะเข้าวังแล้ว ขอเจียมเนื้อเจียมตัวก่อนนะคะทุกท่าน
ฮ่า ฮ่า… คิดไปไกลถึงไหนกันเนี่ย วังที่บุษบาจะพาทุกท่านไปก็คือ พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Palace) เป็นพระราชวังที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง แต่เป็นการสร้างจำลองขึ้นมาอีกทีนะคะ เนื่องจากของเดิมได้อยู่ในสภาพที่เสียหายจากการที่อังกฤษทิ้งระเบิด เพื่อยึดพม่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้สภาพโดยรวมของพระราชวังจึงยังดูใหม่และไม่ขลังเท่าของจริง เราใช้เวลาเที่ยวชมที่นี่ 1 ชม. บริเวณรอบๆ ก็จะเต็มไปด้วยตึกและอาคารที่สร้างขึ้นมาให้ดูเก่าแก่ ภายในเป็นห้องโถงโล่งๆ แต่ไฮไลท์ที่อยากแนะนำ คือตรงจุดหอคอยสูง 6 ชั้น ที่ต้องเดินบันไดวนขึ้นไป ด้านบนจะเป็นจุดชมวิวแบบ 360 องศา สามารถมองเห็นวิวและบรรยากาศโดยรอบของ พระราชวังมัณฑะเลย์ได้ทั้งหมด สวยงามและดูกว้างใหญ่มากๆเลยค๊า จากพระราชวังมัณฑะเลย์ เดินทางมาได้แค่ 10 นาที เราก็มาถึงยังสถานที่ต่อไป นั่นก็คือวัดชเวนันดอว์ (Shwenandaw Monastery) หรือพระราชมณเฑียรทอง คือพระตำหนักเก่าของพระเจ้ามินดง ที่ทรงย้ายมาจากเมืองอมรปุระ มีความโดดเด่นและสะดุดตาด้วยโครงสร้างเก่าแก่ลักษณะคล้ายปราสาท 5 ชั้น มีสีดำ ตัวโครงถูกสร้างด้วยไม้สักและใช้ทองคำเปลวติดทั้งหลัง ทำให้บางคนจึงเรียกที่นี่ว่า Golden Palace Monastery

แต่ปัจจุบันแผ่นทองได้หลุด ออกไปเกือบหมดแล้ว มีแต่ภายในเท่านั้นที่ยังพอเหลือให้เราได้เห็นความสวยงาม บริเวณโดยรอบและด้านในของวัดชเวนันดอว์เต็มไปด้วยงานแกะสลักไม้ที่มีรายละเอียดเยอะมาก แต่แฝงไปด้วยความประณีตและความสวยงาม บางส่วนของตัวโครงยังมีสีทองของ ทองคำเปลวให้เราได้เห็น การเที่ยวชมที่วัดนี้จะต้องถอดรองเท้าไว้ที่หน้าวัด และบางจุดไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเดินเข้าไปนะคะ เกือบเย็นแล้วไฮไลท์อีกหนึ่งที่ที่มามัณฑะเลย์แล้วต้องห้ามพลาดมาชมพระอาทิตย์ตกก็คือสะพานไม้อูเบ็ง (U Bein Bridge) ฟ้าฝนเหมือนจะไม่

เป็นใจสักเท่าไหร่ แล้วก็ได้เวลาพระอาทิตย์ตกดินพอดี สะพานอูเบ็ง เป็นสะพานไม้สักที่ยาวและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างจากไม้ที่เหลือจากการรื้อพระราชวังกรุงอังวะ ใช้เป็นสะพานสัญจรไปมาและข้ามทะเลสาบตองตะมาน ไปยังเกาะกลางทะเลสาบ ที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้คนมักจะมาชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินกัน ในช่วงที่บุษบามา (สิงหาคม) น้ำในทะเลสาบขึ้นสูงมาก สูงจนท่วม ต้นไม้ในบริเวณนั้นเลยด้วยซ้ำ ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกที่จะจ้างเรือเที่ยวชมความยาวของสะพานแห่งนี้และวิวทิวทัศน์โดยรอบบุษบาอยู่ที่สะพานแห่งนี้จนพระอาทิตย์ตกดิน ไม่เสียแรงที่ตั้งใจมา เพราะที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ที่พระอาทิตย์ตกดินสวยที่สุดแห่งหนึ่ง เท่าที่เคยได้เห็นมา ประกอบกับบรรยากาศโดยรอบก็ดีซะเหลือเกิน ได้เห็นวิถีชีวิตของคนเมียนมาร์ ทั้งตกปลา พายเรือ มีร้านค้าเล็กๆ
ขายของทานเล่นและของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว ท าให้วันสุดท้ายที่มัณฑะเลย์ จบลงอย่างแฮปปี้มากๆ

“การเดินทางทำให้เราได้พบเจอสิ่งใหม่ๆเสมอ อย่าลืมออกเดินทางไปเติมเต็มความสุขเล็กๆให้ตัวเองกันนะคะ”

จบไปแล้ว กับทริปประเทศเพื่อนบ้าน “เมียนมาร์” ลองไปกันสักครั้งแล้วนิยามคำว่า พม่า ที่หลายๆท่านเคยจินตนาการไว้จะเปลี่ยนไปเมื่อได้ไปสัมผัส ยังมีสถานที่สวยๆอีกหลากหลายที่ที่บุษบายังไม่ได้ไปอยู่เหมือนกัน ถ้าจะไปอีกครั้งคงไม่พลาดที่จะเลือกใช้บริการ ทราเวิล วันเดอส์ที่ให้บริการดูแลอย่างดีดุจญาติมิตร ฮ่า ฮ่า ทั้งให้สาระความรู้ มอบความสนุกสนาน และที่ไม่พลาดเลยคือ อาหารจัดเต็มทุกมื้อ แถมยังเป็นกันเองมากๆๆๆๆๆๆๆๆ “นึกถึงการเดินทาง ให้คิดถึงทราเวิลวันเดอส์กันนะคะ” คริ คริ #ขายของยัน วินาทีสุดท้าย ฮ่า ฮ่า บุษบา และแอดมินท่านอื่นจะพาไปที่ไหนต่อนั้น….

อย่าลืมติดตามบล็อกท่องเที่ยว ผ่านเว็บไซต์ www.travelwonders.co.th แล้วพบกันใหม่ในการเดินทางครั้งหน้าจ๊า

อยากให้ทีมงานทราเวล วันเดอส์ พาไปเยือนที่ไหน สามารถติดต่อสอบถามมาได้ตามช่องทางนี้เลยค๊า

Website : www.travelwonders.co.th
Line : @travelwonders.th
Facebook : Travel Wonders Co.,Ltd
โทร : 02-525-2235 / 08-6318-0608
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เลขที่ 11/08468

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *